ประวัติความเป็นมา
เดิมสิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ญี่ปุ่นขับไล่อังกฤษออกไปได้และเข้ายึดครองสิงคโปร์ไว้ พอสงครามสงบญี่ปุ่นถูกปลดอาวุธ อังกฤษจึงเข้ามาครอบครองสิงคโปร์ดังเดิม ดินแดนมลายู ใน พ.ศ.2502 อังกฤษจึงให้สิงคโปร์ จัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเอง และจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่นโยบายต่างๆต้องรับความชอบเห็นจากอังกฤษอยู่
ใน พ.ศ.2506 สิงคโปร์ได้เข้ารวมตัวกับสหพันธ์รัฐมลายา ซาบาห์และซาลาวัก ตั้งเป็นประเทศใหม่คือสหพันธ์มาเลเซีย สาเหตุที่ ต้องรวมประเทศกันก็เพราะเกิดความวุ่นวายของพวกจีนคอมมิวนิสต์ในสิงคโปร์ ทำให้สหพันธ์มลายาเป็นดินแดนเบื้องหลังเมืองท่าที่ลำเลียง สินค้าไปยังที่อื่นๆ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงสนามตกลงรวมประเทศเข้าด้วยกัน ในเดือนกันยายน พ.ศ.2506 การรวมประเทศครั้งนี้ มีดินแดนซาราวักและซาบาห์เข้าไปร่วมด้วย จึงทำให้ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียไม่พอใจเพราะต่างก็อ้างสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าวบางส่วน ประกอบ กับปัญหาความขัดแย้งกันทางเชื้อชาติระหว่างมาเลย์ จีน และอินเดียจึงทําให้สิงคโปร์ต้องแยกตัวออกไป อย่างไรก็ดีในยุคที่อังกฤษปกครองอยู่ ปัญหาการแบ่งแยกเชื้อชาติในมลายูก็มีแต่ไม่รุนแรงนักเพราะอังกฤษจะเข้ามาเป็นตัวกลางจัดการตามนโยบายการปกครองของตนเสมอมา ครั้นเมื่อ อังกฤษมอบเอกราชแก่มลายูและถอนตัวออกไปแล้ว ความจำเป็นในการติดต่อโดยตรงระหว่างชาวจีน มาเลย์ และอินเดีย ในทุกระดับชั้นจึงมีมากขึ้น การขาดค่านิยมร่วมกันซึ่งเป็นปัจจัยหน่วงเหนี่ยวชนชาติต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันและการไม่มีภาษากลางอันเป็นสื่อติดต่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทำให้การปรับตัวเข้าหากัน และการตกลงประนีประนอมในการแก้ปัญหาในขั้นมูลฐานมีน้อยมากด้วยเหตุนี้การขัดแย้งและแย่งชิงผลประโยชน์ ทางการเมือง เศษฐกิจ และสังคม ตลอดจนการประทะกันระหว่าง ชาวจีนและมาเลย์ จึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก ส่วนชาวอินเดียนั้นเป็นชนส่วนน้อย ในสหพันธ์มาเลเซีย คือ มีประมาณร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมดขณะที่มีชาวจีนอยู่ประมาณร้อยละ 36 ชาวร้อยละ 54 ชาวอินเดียจึงมีอิทธิพล ทางการเมือง เศษฐกิจ และสังคมน้อยกว่าสองพวกดังกล่าว แต่นับว่าโชคดีที่นักการเมืองชั้นนำของ 3 เชื้อชาติสามารถปรองดองกันได้ทำให้เหตุการณ์ ในตอนนั้นสงบลง
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากประเทศหนึ่งในทวีปเอเซีย เศรษฐกิจของสิงคโปร์เกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับการค้า และอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นไม่มีความสำคัญเลยเพราะมีพื้นที่จำกัดสิงคโปร์สร้างตัวขึ้นมาได้จากการค้าทางทะเลโดยแท้จริงเพราะลักษณะที่ตั้ง ของสิงคโปร์เปรียบเสมือนประตูการคมนาคมทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมต่อจาก ภาคพื้นทวีปเอเซียลงไปส่เกาะอินโดนีเซีย ออสเตเลียและนิวซีแลนด์จึงเป็นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดที่จะแวะพักกลางทางในการเดินเรือสมุทร และทำให้สิงคโปร์เป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่งปัจจุบันนี้การค้าขายและการขนส่งก็ยังคงเป็น หัวใจหลักทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลให้การส่งเสริมเป็นอย่างดี เช่นการประกาศให้เป็นเมืองท่าปลอดภาษีการจัดสร้างระบบ คมนาคมและการขนถ่ายที่ทันสมัยสะดวกและรวดเร็วซึ่งนับได้ว่าดีที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันนี้สิงคโปร์มีท่าเรือขนถ่ายที่ทันสมัยที่สุด ถึง3แห่งจึงนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่อันดับ2ของทวีปเอเซียอุตสาหกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจรัฐบาลสิงคโปร์ตระหนักว่าเพียงการค้า ขายแบบเป็นตัวอย่างอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่เพียงพอจึงได้เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อย่รอบตัว เมืองสิงคโปร์เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่งและมีนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ จูรง อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นนำมัน ถลุงโลหะ เคมีภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า ขณะนี้สิงคโปร์กำลังเริ่มต้นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงนอกจากนี้แล้วอุตสาหกรรมการท่องเที่วในสิงคโปร์ก็ได้รับ การส่งเสริมจากรัฐบาล ในการค้ากับต่างประเทศนั้น สิงคโปร์เป็นเมืองธุรกิจการค้าในการสั่งเข้าและส่งออกจึงต้องสั่งสินค้าเข้าจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมากทุกปีสินค้าที่สั่งเข้าได้แก่สินค้าประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์การเกษตร วัตถุดิบทางด้านอุตสาหกรรมและสินค้าสำเร็จรูปที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูงจากประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก เป็นต้น แต่สิงคโปร์ยังคลาดแคลนแรงงานและช่างเทคนิค จึงต้องอนุญาตให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศอีดด้วย
สิงคโปร์มีชาวจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือประมาณร้อยละ78ของประชากรทั้งหมด รองลงไปได้แก่พวดพวกปากีสถาน และอื่นๆภาษาที่ใช้เป็นทางราชการของสิงคโปร์มีอยู่ถึง4ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาทมิฬและภาษามาเลย์ ศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือ ศาสนาพุทธ รองลงมาได้แก่ คริสต์ อิสลาม เต๋าและฮินดูตามลำดับ
สถิติประชากรที่อ่านออกเขียนได้มีประมาณร้อยละ91
สิงคโปร์มีเกาะเล็กๆที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้แต่มีผลผลิตส่วนใหญ่มากจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาศัยวัตถุดิบจากประเทศใกล้เคียงป้อนเข้าโรงงาน อุตสาหกรรมสำคัญที่ใช้ทรัพยากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ อุตสาหกรรมกลั่นนำมัน โดยซื้อนำมันจากอินโดนีเซียและบรูไนอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสิงคโปร์ก็ได้พัฒนาด้านอุตสาหกรร จนนำหน้าประเทศใดๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สิงคโปร์มีเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกผ่านสะพานช่องแคบยะโฮร์ที่เรียกว่า
คอสเวย์(causeway) เชื่อมการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ทางรยนต์ได้แก่ ทางหลวงเอเซียสายA-2 ซึ่งผ่านจากประเทศไทยเข้ามาเลเซีย และสิงคโปร์และเชื่อมไปถึงอินโดนีเซีย เส้นทางรถไฟมีเชื่อมระหว่างประเทศไทย มาเลเซียและสิงคโปร์นับว่าสะดวก ต่อการโดยสารและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ด้วยทางนำสิงคโปร์อยู่ในเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปมาตะวันออกและไปยังออสเตเลีย ทำให้มีการสร้างท่าเรือเมื่อรับขนถ่ายสินค้าและพักจอดเรือ นับเป็นเมืองท่ามาตราฐาน แห่งหนึ่งของโลกและเนื่องจากการเปิดประเทศให้เป็นเมืองท่าปลอดภาษีจึงทำให้กิจการ การลงทุนได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วไป นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีท่าอากาศยาน ที่สามารถรับเครื่องบินได้มากจึงกลายเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ สำคัญแห่งหนึ่งของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
|